วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่2

วันอังคาร ที่ 13 ธันวาคม 2554

สำหรับวันนี้อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกัสนทนาเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีข้อความรู้ดังนี้

"มาตราฐาน" มีไว้เพื่อควบคุมคุณภาพผู้เรียน (การทำอะไรต้องทำให้ดีกว่ามาตราฐาน)

"มาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์" เป็นเกณฑ์ที่เด็กจะได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่งของจำนวน การรู้เวลา การชั่ง การตวง

"การจัดประสบการณ์" เปรียบเสมือนการจัดการเรียน การสอนของเด็กประถม

กิจกรรมในห้องเรียน
- อาจารย์ถามว่าในห้องเรียนของเรามีอะไรที่เป็นคณิตศาสตร์บ้าง

- จอคอมพิวเตอร์
- จำนวนรอบที่หมุนของพัดลม
- กระจก
- โต๊ะ-เก้าอี้
- หน้าต่าง

- อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน และให้ดูตัวอย่างแผนการสอนของรุ่นพี่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ดังนี้

กลุ่มที่ 1หน่วยน้ำ(ปริมาณมาก-น้อย)
เรื่องที่สอน => คุณสมบัติของน้ำ ปริมาณของน้ำมีความสัมพันธ์กับการระเหยของน้ำ

กลุ่มที่ 2 หน่วยอากาศ (จำนวน)
เรื่องที่สอน => การนับจำนวนสมาชิกในกลุ่ม

กลุ่มที่ 3หน่วยวันพ่อ (เปรียบเทียบ)
เรื่องที่สอน => การเปรียบเทียบต้องมี 2 อย่างขึ้นไป เพื่อนำไปสู่การเรียงลำดับ

กลุ่มที่ 4 หน่วยชุมชนของเรา(รูปร่างรูปทรง)

กลุ่มที่ 5 หน่วยนกน้อย(พื้นฐานการบวก)
เรื่องที่สอน => การให้เด็กรู้การเพิ่มจำนวนที่ละน้อย

กลุ่มที่ 6 หน่วยฤดูร้อน(การเรียงลำดับ)

และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มยกตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก


กลุ่มที่ 1 หน่วยน้ำ(ปริมาณมาก-น้อย)
การดื่มนมของเด็ก เช่น เด็กขอนมดื่มในปริมาณ ครึ่งแก้ว

กลุ่มที่ 2 หน่วยอากาศ (จำนวน)
นับเพื่อนบนรถที่นั่งมาด้วยกันว่ามีจำนวนกี่คน

กลุ่มที่ 3 หน่วยวันพ่อ (เปรียบเทียบ)
การจะให้เด็กเข้าแถวเรียงลำดับ ต้องเปรียบเทียบว่าใครสูงกว่า เตี้ยกว่า

กลุ่มที่ 4 หน่วยชุมชนของเรา(รูปร่างรูปทรง)
การเล่นทรายโดยการใช้บล็อกกลวงมาปั้นเป็นรูปทรงที่ต่างกัน

กลุ่มที่ 5 หน่วยนกน้อย(พื้นฐานการบวก)
การดื่มนมของเด็กในแต่ละสัปดาห์ เมื่อดื่มนมใน 1 วัน ก็จะมีสัญลักษณ์ของตนเองมาติดไว้

กลุ่มที่ 6 หน่วยฤดูร้อน(การเรียงลำดับ)
การมาโรงเรียนของเด็กว่า เมื่อเด็กมาถึงโรงเรียนต้องทำ อะไรก่อนหลัง เช่น ถอดร้องเท้า ส่งการบ้าน เก็บกระเป๋า

สำหรับบรรยากาศในห้องเรียนวันนี้
วันนี้รู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้นในการเรียนอยู่ตลอดเวลา อาจารย์และนักษาทำกิจกรรมและร่วมสนทนา อภิปราย ร่วมกัน โดยอาจารย์ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น